top of page
  • Writer's pictureAdmin

เสื้อมือสอง วงร็อก ไอเท็มสุดเท่ที่มาแรงสุดๆ



เสื้อยืดวินเทจรุ่นเก่าที่จุกจะกล่าวถึงนั้น จะแบ่งเป็นยุคสมัยตามทศวรรษ เริ่มจากยุค 70’s >>> 80’s >>> 90’s เทรนด์ความนิยมของ "เสื้อมือสอง" ทั้งวินเทจและวงร็อกสุดอมตะคลาสสิค ไม่เคยหลุดหายไปจากวงโคจรแฟชั่น เพียงแต่ว่าขณะนั้น โลกจะหมุนให้กระแสไหนวนลูปกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อมเฉพาะวงการดนตรี และวงการแฟชั่น แต่ยังเขย่าแวดวงธุรกิจเสื้อผ้ามือสองให้กลับมาคึกคักยิ่งขึ้น พร้อมกอบโกยรายได้แบบกำไรงาม เห็นได้จากช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา กับกระแสยุค 90 และเสื้อวงดนตรีร็อก-เฮฟวี่เมทัล ที่กลับมาฮิตระบาดอีกครั้ง



เสื้อยืดวินเทจ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมผลิตเป็นผ้าฝ้าย 100% ( 100% cotton) จิ๊กโก๋ยุคนั้น จุกว่า (เกิดไม่ทัน) คงชอบสวมใส่ผ้าผสมกันนะครับ อากาศมันคงร้อน ผ้าเนื้อผสมน่าจะตอบโจทย์ได้ดีเพราะใส่สบาย ใส่แล้วเย็น ผ้าไม่หนามาก เสื้อยืดวินเทจจะมี เนื้อผ้าผสม 2 เนื้อ คือ ผ้าผสมระหว่างผ้าฝ้าย 50% + ผ้าโพลีเอสเตอร์ 50% (50% cotton – 50% Polyester) หรือเนื้อผ้าผสมแบบ 3 เนื้อ คือ ผ้าผสมระหว่างผ้าฝ้าย-ผ้าโพลีเอสเตอร์-ผ้าเรยอน (Cotton+Polyester+Rayon) แบ่งตามสัดส่วนแล้วแต่โรงงานจะผลิต สุดท้ายก็มีเสื้อยืดที่ผลิตจากผ้า cotton 100% ครับ

      อีกปัจจัยนึงที่สำคัญที่เสื้อยืดสมัยก่อนนั้นผลิตออกมา(เกือบ)ทุกตัวจะมีตะเข็บด้ายที่เย็บ สอยตะเข็บเป็นเส้นด้ายเดี่ยวทั้งชายเสื้อด้านล่างหรือชายตรงปลายแขนทั้ง 2 ข้าง ส่วนตัวของ จุก เองคิดว่ามาจากความสามารถหรือเทคโนโลยีของเครื่องจักรสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยพอที่จะเย็บให้ตะเข็บเป็นเส้นคู่ (ในครั้งเดียว)ได้ แต่สมัยยุค 90’s เครื่องจักรหรือจักรเย็บผ้า สามารถเย็บตะเข็บเป็นด้ายคู่ถัก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แน่นหนา ที่ไม่ทำให้ชายเสื้อลุ่ยได้ง่ายครับ

ยุค 70’S




     ยุคนี้ จุดสังเกตแรกที่เด่นชัดที่สุดคือ ป้ายที่คอเสื้อจะไม่มียี่ห้อครับ ป้ายที่คอจะบอกเฉพาะคุณสมบัติของเนื้อผ้า + ผลิตจากประเทศไหน + ขนาด  จุก ว่ายุคนั้น สมัยนั้น คงยังไม่มีนายทุนมั๊ง 5555 แต่ในบทความเค้าบอกมาว่ายุคปลายๆ ของปี 70’s นั้นก็เริ่มจะมี ป้ายคอที่แสดงยี่ห้อหรือโรงงานที่ผลิตเสื้อออกมาบ้างเหมือนกันครับ ส่วนใหญ่ถ้าเราไปพบเจอ สภาพป้ายก็จะลุ่ยจนมองไม่เห็นรายละเอียดแล้วละครับ 


ยุค 80’S




           แบรนด์ยอดนิยมต่างๆ เรียกได้ว่า เริ่มกันที่ยุคนี้ก็ว่าได้ครับ หลายแบรนด์แจ้งเกิดกันในช่วงยุค 80’s  เช่น Screen Star , Hanes, Sportware, Champion เป็นต้น ในยุคนี้หลายแบรนด์แข่งขันผลิตเสื้อโดยมุ่งเน้นที่สีของเสื้อ และรูปแบบของเสื้อ เช่น เป็นลายกลมๆ และเกาะต่างๆ เช่น เกาะฮาวาย เป็นต้น


ยุค 90’S



ยุคนี้เป็นยุคเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายแบรนด์ใหม่ๆ ก็เข้ามาและหลายแบรนด์ยุคก่อนๆ ก็เริ่มหายไป บางบริษัทรวมตัวกัน อย่างเช่น Screen Star รวมตัวกับหลายๆแบรนด์กลายเป็น แบรนด์ยักษ์ใหญ่ตราบจนทุกวันนี้ นั้นคือแบรนด์ Fruit of the loom นั้นเอง  ส่วนเสื้อยืดแนวเพลงต่างๆ เช่นเสื้อยืดวงดนตรี เสื้อทัวร์คอนเสิร์ต ยุค 90’s นี้เป็นยุคเฟื้องฟูของเสื้อยืดแนวดนดรีและสินค้าที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ตเลยก็ว่าได้ และกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ภายใต้ลิขสิทธิ Brockum, Giant, Gem เป็นต้น แบรนด์เหล่านี้ แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นคนผลิตเสื้อยืดขึ้นมา กลับกลายเป็นโรงงานจาก FOTL (Fruit of the Loom) และ Hanes  ที่เป็นผู้ผลิต






ถ้าสนใจเสื้อวง เสื้อมือสอง เสื้อวินเทจ เข้ามาดูได้ที่ shirt2hands เลย

1,093 views0 comments

Recent Posts

See All

รีวิวรายวิชา EGME405 Online Entreprenuership ธุรกิจและผู้ประกอบการออนไลน์

สวัสดีครับ ผม นายธนายธนวัฒน์ เวียนนอก รหัสนักศึกษา 5813020 นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 วันนี้ผมจะมารีวิว วิชา EGME405 Online Entreprenuership ธุรกิจและผู้ประกอบการออนไลน

รีวิวรายวิชา EGME 405 ธุรกิจและผู้ประกอบการ

สวัสดีครับผมเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ที่มีโอกาสได้เรียนใน รายวิชา EGME 405 ธุรกิจและผู้ประกอบการ ผมรู้จักวิชานี้จากการแนะนำของเพื่อน ได้ยินว่าวิชานี้สอนเกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ โดยข

bottom of page